กรมทางหลวง ประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร เลี่ยงเมืองกำแพงเพชร
ข่าวสังคม

กรมทางหลวง ประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร เลี่ยงเมืองกำแพงเพชร

วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ที่หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กรมทางหลวง โดยสำนักสำรวจและออกแบบ ร่วมกับบริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด มหาวิทยาลัยบูรพา และบริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด ได้จัดประชุมเพื่อสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบที่ เหมาะสม (สัมมนาครั้งที่ 2) พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 112 ทางเลี่ยงเมืองกำแพงเพชร โดยมีืผู้ใด้รับผลกระทบ ผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา สถานพยาบาล สื่อมวลชน และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมประชุม



ปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 112 ทางเลี่ยงเมืองกำแพงเพชร ระยะทางประมาณ 13.00 กิโลเมตร บางช่วงมีขนาด 2 ช่องจราจร ไม่เพียงพอกับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นทางผ่านของเส้นทางคมนาคม ทางหลวงหมายเลข 1 และทางหลวงหมายเลข 101 ไปจังหวัดในภาคเหนือ ดังนั้น เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดและช่วยให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง โดยสำนักสำรวจและออกแบบ จึงได้ว่าจ้าง บริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด มหาวิทยาลัยบูรพา และบริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด ดำเนินการสำรวจ และออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 112 ทางเลี่ยงเมืองกำแพงเพชร พร้อมจัดทำ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตลอดจนดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เพื่อนำข้อคิดเห็นมาประกอบการศึกษาต่อไป






จากการศึกษาเพื่อการบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบนทางหลวงหมายเลข 112 ให้เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ พบว่า มีองค์ประกอบที่จำเป็นต้องศึกษาคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสม ได้แก่ รูปแบบทางแยกต่างระดับบริเวณทางแยกในพื้นที่โครงการ และรูปแบบการปรับปรุงสะพานข้ามแม่น้ำปิง สรุปได้ดังนี้ แยกทางหลวงหมายเลข 1 หรือแยกทุ่งเศรษฐี ใช้รูปแบบการก่อสร้างสะพานยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 1 ทิศทางขาล่อง ร่วมกับสัญญาณไฟจราจร แยกมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ใช้รูปแบบการก่อสร้างสะพานยกระดับ ร่วมกับทางแยกสัญญาณไฟจราจร แยกทางหลวงหมายเลข 1084 หรือสี่แยกแม็คโคร ใช้รูปแบบการก่อสร้างสะพานยกระดับและวงเวียนระดับพื้น แยกทางหลวงหมายเลข 115 หรือสี่แยกทางไปจังหวัดพิจิตร ใช้รูปแบบการก่อสร้างสะพานยกระดับและวงเวียนระดับพื้น

ส่วนการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ใช้รูปแบบโครงสร้างพื้นสะพานรูปแบบคานยื่นสมดุล สำหรับแยก กพ.3010 หรือสี่แยกลำมะโกรก และแยกทางหลวงหมายเลข 101 หรือแยกหน้าสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกำแพงเพชร ทั้ง 2 แยก สามารถรองรับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นได้ โดยที่ยังใช้สัญญาณไฟควบคุมการจราจร จนถึง พ.ศ. 2590

  • คำค้นหา
  • #

แชร์หน้านี้